I love ded&mom with all my heart - บทความจิตวิทยา

กลวิธานในการป้องกันตัว (Defense Mechanism)
 โดย ผศ.สุภวรรณ พันธุ์จันทร์
.............................................................
 
            กลวิธานในการป้องกันตัวของบุคคล ได้มีนักจิตวิทยาและนักวิชาการได้อธิบายแยกประเภทของกลวิธานในการป้องกันตัวของบุคคล ไว้ดังนี้ คือ
            1. การก้าวร้าว (Aggression) เป็นการต่อสู้ที่ทำลายสิ่งที่ขัดขวางความต้องการโดยต่อสู้กับสิ่งที่ทำให้เกิดความคับข้องใจ การแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวนี้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
                        1.1 การก้าวร้าวโดยตรง (Direct aggression) หมายถึง การแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อบุคคลหรือสิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจโดยตรง เด็กเล็กๆ และผู้ที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำมักจะแสดงอาการก้าวร้าวโดยตรงมากกว่าบุคคลอื่น
                        1.2 การก้าวร้าวทางอ้อม (Displaced aggression) ในบางครั้งเราก็ไม่สามารถแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวโดยตรงได้ จึงต้องหันเหไปก้าวร้างทางอ้อมแทนเป็นต้นว่า  เมื่อถูกคุณแม่ดุพอลับตาคุณแม่ก็หันไปเตะสุนัข เอาไม้ฟาดต้นไม้ใบหญ้า เป็นต้น    คนบางคนอาจจะใช้วิธีการนินทาเพราะไม่กล้าว่าต่อหน้า บางคนก็แสดงออกโดยอคติ (prejudice) ต่อคนบางกลุ่ม
            2. การชดเชย (Substitution) เป็นวิธีการที่คนเราพยายามหาทางลดความคับข้องใจโดยวิธีเพิ่มลักษณะบางอย่างเพื่อชดเชยกับสิ่งที่ขาดไป การชดเชยอาจทำได้ดังนี้
                        2.1 การเอาชนะข้อบกพร่องของตนเอง หากความคับข้องใจเกิดจากความบกพร่องของตนเอง ก็อาจจะใช้ความมานะพยายามอย่างมากมาชดเชยข้อบกพร่องนี้ เช่น เด็กที่เรียนไม่เก่งเพราะเชาว์ปัญญาไม่ค่อยดี อาจจะใช้ความพยายามอย่างหนักจนสามารถสอบชิงทุนไปเรียนต่างประเทศได้
                        2.2 การทดแทน (Compensation) เป็นการตั้งความมุ่งหมายใหม่มาแทนความต้องการเดิมที่ทำไม่ได้ เช่น เด็กที่เรียนไม่เก่งอาจจะหันมาเอาดีทางด้านกีฬาแทนเป็นต้น
                        2.3 การทดเทิด (Sublimation) เป็นการทำกิจกรรมการทดเทิดไม่ได้เปลี่ยนความมุ่งหมายไปได้ การทดเทิดต่างจากการทดแทนในเง่ที่ว่าการทดเทิดไม่ได้เปลี่ยนความมุ่งหมายไป ความต้องการเดิมยังอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนวิธีสนองความต้องการเท่านั้น เช่น คนที่เป็นหมันไม่สามารถจะมีลูกของตนเองได้ ก็อาจจะหาทางชดเชยโดยการขอเด็กอื่นมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมหรือหันไปทำงานด้านสงเคราะห์เด็ก เป็นต้น
            3. การแสดงเอกลักษณ์ (Identification) เป็นวิธีสนองความต้องการโดยสร้างความรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลที่เด่น เป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะหรือกลุ่มคนที่มีชื่อเสียง เป็นการอาศัยรัศมีของผู้อื่นมาช่วยให้รู้สึกว่าตนเด่นขึ้นทั้งนี้เพราะคนเราทุกคนอยากจะเป็นคนเก่ง เป็นคนสำคัญด้วยกันทั้งนั้น เมื่อไม่สามารถสนองความต้องการนี้ได้ด้วยตนเองก็ต้องพยายามสร้างความผูกพันกับบุคคลอื่นหรือหมู่คณะอื่น เพื่ออาศัยเกียรติยศของบุคคลนั้นหรือหมู่คณะนั้นๆ มาทำให้รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญบ้าง เช่น เด็กที่อาจเป็นนักกีฬาที่มีชื่อเสียงแต่ไม่อาจจะทำได้ด้วยตนเองก็พยายามทำความรู้จักกับนักกีฬาที่เด่นๆ หรือแม้เพียงได้จับมือก็ยังดี บางคนก็พยายามบอกเล่าให้คนอื่นได้รับรู้ว่าตนเคยเรียนอยู่ในสถานศึกษาที่บุคคลสำคัญๆ เคยเรียนมาก่อน เคยรู้จักหรือมีเพื่อนกับบุคคลที่มีชื่อเสียง
            4. การอ้างเหตุผล (Rationalization) คนเราต้องการที่จะกระทำสิ่งต่างๆ อย่างมีเหตุผลแต่การกระทำของคนเราบางครั้งก็ดูจะไร้เหตุผลหรือมีเหตุผลไม่เพียงพอจึงต้องพยายามอ้างเหตุผลต่างๆ มาสนับสนุนการกระทำของตน เหตุผลที่นำมาอ้างไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงของการกระทำแต่เป็นข้ออ้างที่คาดว่าดีที่สุดที่จะนำมาประกอบการกระทำของตนให้รู้สึกว่าสมเหตุสมผลขึ้นมานั้น การอ้างเหตุผลอาจจะทำได้ดังนี้
                       
 
 
 
 
 
 
กลวิธานในการป้องกันตัว (Defense Mechanism) ตอนที่ 1
 โดย ผศ.สุภวรรณ พันธุ์จันทร์
 
.................................................................................................................................................
 
            กลวิธานในการป้องกันตัวของบุคคล ได้มีนักจิตวิทยาและนักศึกษาอธิบายแยกประเภทไว้ดังนี้ คือ
            1. การก้าวร้าว (Aggression) เป็นการต่อสู้ที่ทำลายสิ่งที่ขัดขวางความต้องการโดยต่อสู้กับสิ่งที่ทำให้เกิดความคับข้องใจ การแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวนี้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
                        1.1 การก้าวร้าวโดยตรง (Direct aggression)  หมายถึง การแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อบุคคลหรือสิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจโดยตรง เด็กเล็กๆ และผู้ที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำมักจะแสดงอาการก้าวร้าวโดยตรงมากกว่าบุคคลอื่น
                        1.2 การก้าวร้าวทางอ้อม (Displaced aggression)  ในบางครั้งเราก็ไม่สามารถแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวโดยตรงได้ จึงต้องหันเหไปก้าวร้าวทางอ้อมแทนเป็นต้นว่า เมื่อถูกคุณแม่ดุพอลับตาคุณแม่ก็หันไปเตะสุนัข เอาไม้ฟาดต้นไม้ใบหญ้า เป็นต้น   คนบางคนอาจจะใช้วิธีการนินทาเพราะไม่กล้าว่าต่อหน้า บางคนก็แสดงออกโดยอคติ (prejudice) ต่อคนบางกลุ่ม
            2. การชดเชย (Substitution) เป็นวิธีการที่คนเราพยายามหาทางลดความคับข้องใจโดยวิธีเพิ่มลักษณะบางอย่างเพื่อชดเชยกับสิ่งที่ขาดไป การชดเชยอาจทำได้ดังนี้
                        2.1 การเอาชนะข้อบกพร่องของตนเอง หากความคับข้องใจเกิดจากความบกพร่องของตนเอง ก็อาจจะใช้ความมานะพยายามอย่างมากมาชดเชยข้อบกพร่องนี้ เช่น เด็กที่เรียนไม่เก่งเพราะเชาว์ปัญญาไม่ค่อยดี อาจจะใช้ความพยายามอย่างหนักจนสามารถสอบชิงทุนไปเรียนต่างประเทศได้
                        2.2  การทดแทน (Compensation) เป็นการตั้งความมุ่งหมายใหม่มาแทนความต้องการเดิมที่ทำไม่ได้ เช่น เด็กที่เรียนไม่เก่งอาจจะหันมาเอาดีทางด้านกีฬาแทนเป็นต้น
                        2.3 การทดเทิด (Sublimation) เป็นการทำกิจกรรมอย่างอื่นชดเชยกิจกรรมที่ทำไม่ได้ การทดเทิดต่างจากการทดแทนในเง่ที่ว่าการทดเทิดไม่ได้เปลี่ยนความมุ่งหมายไป ความต้องการเดิมยังอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนวิธีสนองความต้องการเท่านั้น เช่น คนที่เป็นหมันไม่สามารถจะมีลูกของตนเองได้ ก็อาจจะหาทางชดเชยโดยการขอเด็กอื่นมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมหรือหันไปทำงานด้านสงเคราะห์เด็ก เป็นต้น
          3. การแสดงเอกลักษณ์ (Identification)  เป็นวิธีสนองความต้องการโดยสร้างความ
รู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลที่เด่น เป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะหรือกลุ่มคนที่มีชื่อเสียง เป็นการอาศัยรัศมีของผู้อื่นมาช่วยให้รู้สึกว่าตนเด่นขึ้นทั้งนี้เพราะคนเราทุกคนอยากจะเป็นคนเก่ง เป็นคนสำคัญด้วยกันทั้งนั้น เมื่อไม่สามารถสนองความต้องการนี้ได้ด้วยตนเองก็ต้องพยายามสร้างความผูกพันกับบุคคลอื่นหรือหมู่คณะอื่น เพื่ออาศัยเกียรติยศของบุคคลนั้นหรือหมู่คณะนั้นๆ มาทำให้รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญบ้าง เช่น เด็กที่อาจเป็นนักกีฬาที่มีชื่อเสียงแต่ไม่อาจจะทำได้ด้วยตนเองก็พยายามทำความรู้จักกับนักกีฬาที่เด่นๆ หรือแม้เพียงได้จับมือก็ยังดี บางคนก็พยายามบอกเล่าให้คนอื่นได้รับรู้ว่าตนเคยเรียนอยู่ในสถานศึกษาที่บุคคลสำคัญๆ เคยเรียนมาก่อน เคยรู้จักหรือมีเพื่อนกับบุคคลที่มีชื่อเสียง
            4. การอ้างเหตุผล (Rationalization)  คนเราต้องการที่จะกระทำสิ่งต่างๆ อย่างมีเหตุผลแต่การกระทำของคนเราบางครั้งก็ดูจะไร้เหตุผลหรือมีเหตุผลไม่เพียงพอจึงต้องพยายามอ้างเหตุผลต่างๆ มาสนับสนุนการกระทำของตน เหตุผลที่นำมาอ้างไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงของการกระทำแต่เป็นข้ออ้างที่คาดว่าดีที่สุดที่จะนำมาประกอบการกระทำของตนให้รู้สึกว่าสมเหตุสมผลขึ้นมานั้น การอ้างเหตุผลอาจจะทำได้ดังนี้
                   4.1 อ้างว่าไม่ชอบเป็นข้อแก้ตัว เช่นเมื่อสอบคัดเลือกเรียนต่อไม่ได้ก็อ้างว่าไม่อยากเรียน เป็นต้น เป็นการแก้ตัวเพื่อลดความรู้สึกเสียหน้าลงไป การแก้ตัวในลักษณะนี้เข้าทำนองที่ว่า องุ่นเปรี้ยว (sour grape)
                   4.2 อ้างว่าชอบเป็นข้อแก้ตัว คนบางคนอาจจะอยากได้สิ่งอื่นที่ดีกว่าหรือเหมาะสมกว่าสิ่งที่ตนมีอยู่ แต่เมื่อไม่สามารถจะมีได้ก็อ้างว่าตนพอใจในสิ่งที่มีอยู่ จึงไม่คิดดิ้นรนขนขวายที่จะหาใหม่ การแก้ตัวแบบนี้เข้าลักษณะที่ว่า มะนาวหวาน (sweet lemon)
                   4.3 ตำหนิผู้อื่นหรือสิ่งอื่นเป็นข้อแก้ตัว เช่น เมื่อนอนตื่นสายหรือไปโรงเรียนสายก็โทษว่าแม่ไม่ปลุก นาฬิกาตาย รถเสียเวลา เป็นต้น เป็นการแก้ตัวในทำนอง รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
                   4.4 อ้างความจำเป็นมาเป็นข้อแก้ตัว  เช่นเมื่อซื้อรถใหม่ต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนมาก รู้สึกว่าเป็นการฟุ่มเฟือย ก็อ้างว่ารถคันเก่าต้องซ่อมแซมอีกมาก จึงจะใช้การได้และไม่ทราบว่าจะใช้การได้อีกหรือไม่ ซื้อรถใหม่เสียเลยดีกว่า
                   4.5 อ้างว่ากำลังจะทำอยู่แล้ว  เป็นการแก้ตัวในลักษณะที่ควรจะทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งมานานแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำ เมื่อถูกตำหนิหรือเกิดความเสียหายเนื่องจากการละเลยของตน ก็อ้างว่ากำลังจะทำอยู่แล้วไม่ได้นิ่งนอนใจอะไรเลย เช่น ผมกำลังจะเตรียมการอยู่แล้ว
 
            การอ้างเหตุผลเป็นวิธีการที่ใช้ลดความคับข้องใจได้มาก วิธีนี้จะช่วยให้สบายใจขึ้น และรู้สึกไม่เสียหน้ามากนักเนื่องจากมีเหตุผลประกอบพฤติกรรมของตนเองอย่างไรก็ตามหากใช้วิธีการนี้อยู่เสมอๆ ก็อาจเกิดผิดพลาดเสียหายได้ เหตุการณ์บางอย่างควรใช้วิธีการเผชิญหน้ากับความจริง และพยายามหาทางแก้ไขเสียโดยเร็วจะดีกว่าการอ้างเหตุผลมาประกอบ
 
 
 
 
 
 
กลวิธานในการป้องกันตัว (Defense Mechanism) ตอนที่ 2
 
โดย ผศ.สุภวรรณ พันธุ์จันทร์
.....................................................................................
 
            ตอนที่ 2 เป็นกลวิธานในการป้องกันตัวที่หลายท่านเลือกวิธีการดังนี้ คือ 
ประการแรกได้แก่ การซัดโทษ (Projection) เป็นการกล่าวถึงความผิดผู้อื่นที่ทำความผิดเช่นเดียวกับตนแต่มีความรุนแรงกว่าเพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าความผิดของตนเป็นความผิดที่เล็กน้อยไม่ใช่ความผิดที่ร้ายแรงอะไรนัก เช่น ผู้ที่ชอบดื่มสุราก็จะพูดถึงบางคนที่ดื่มสุราจนครองสติไม่อยู่ หรือผู้ที่ชอบพูดปดก็อาจจะกล่าวว่า คนก็โกหกทั้งนั้น การซัดโทษเป็นวิธีการที่แตกต่างจากการตำหนิผู้อื่น หรือสิ่งอื่นอยู่บ้าง คือ การตำหนิผู้อื่นหรือสิ่งอื่นแสดงถึงการไม่ยอมรับความผิดของตน ส่วนการซัดโทษแสดงถึงการยอมรับความบกพร่องหรือความผิดของตนแต่เป็นความบกพร่องที่ไม่ร้ายแรงยังเป็นความผิดเล็กน้อย เมื่อเทียบกับบุคคลอื่น การซัดโทษเป็นวิธีการที่ช่วยให้เกิดความสบายใจขึ้นได้บ้างแต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเลยแม้แต่น้อย เพราะผู้ที่ปรับตนโดยวิธีนี้จะรู้สึกว่าข้อบกพร่องของตนยังไม่รุนแรงจึงไม่หาทางแก้ไขปรับปรุงกระทำตนให้ดีขึ้นและหากใช้อยู่เสมอๆ อาจทำให้มองสิ่งต่างๆ ผิดความเป็นจริงหรือมองคนอื่นในแง่ร้ายได้
ประการที่สองได้แก่ การเก็บกด (Repression) เป็นวิธีการที่คนเราพยายามลืมความต้องการหรือความคิดบางอย่างที่ไม่ถูกต้อง หรือพยายามเก็บกดความคับข้องใจให้ลงไปอยู่ที่จิตไร้สำนึกเพื่อให้ลืมไปเสียจะได้ไม่เกิดความรู้สึกกระวนกระวายใจ การเก็บกดแตกต่างจากการยับยั้งไม่แสดงออกมาให้ผู้อื่นล่วงรู้แต่ตนเองยังรู้ตัวดีว่าตนมีความต้องการอะไรอยู่ ส่วนการเก็บกดนั้นเป็นความเก็บกดความต้องการหรือความคิดบางอย่างเพื่อให้ลืมเนื่องจากความรู้สึกสำนึกผิด (guilt) แม้จะรู้อยู่ในใจตนเองคนเดียวก็ยังมีความสำนึกผิดอยู่ จึงต้องพยายามทำให้ตนเองลืมความต้องการนั้นเสีย การเก็บกดนี้หากทำได้โดยสมบูรณ์ คนเราก็จะลืมความต้องการหรือความคิดนั้นโดยสิ้นเชิง แต่โดยทั่วไปแล้วการเก็บกดจะไม่สมบูรณ์ ดังนั้นแรงขับที่เกิดจากความต้องการถูกเก็บกดไว้จะยังคงมีอยู่และพยายามหาทางออกอยู่เสมอเมื่อมีโอกาสก็จะแสดงออกมาให้เห็นอีกการเก็บกดอาจแบ่งออกเป็น2ลักษณะคือ
                1.1  Primary repression หมายถึง การลืมเหตุการณ์ความต้องการหรือความคิดที่เมื่อนึกถึงคราวใดจะทำให้เกิดความรู้สึกสำนึกผิด หรือเกิดความอับอายขึ้นมาทันที
1.2    Secondary repression หมายถึงพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ สถานที่หรือตัว
บุคคลที่ทำให้ระลึกถึงสิ่งที่ต้องการจะลืม
ประการที่สามได้แก่ ปฏิกิริยากลบเกลื่อน  (Reaction Formation)   เป็นการแสดง
พฤติกรรมที่ตรงกันข้ามกับความรู้สึกที่แท้จริง เช่น แม่ที่ไม่ต้องการมีลูกอาจจะแสดงว่าตนต้องการลูกและรักลูกมากเหลือเกิน คอยระแวดระวังและเอาใจลูกอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อซ่อนความรู้สึกไม่ต้องการมีลูกเอาไว้ไม่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ พยายามแสดงพฤติกรรมไปในทางตรงกันข้ามเพื่อปกปิดความรู้สึกที่แท้จริงของตน แม่ประเภทนี้มักแสดงความห่วงใย เป็นกังวลกับลูกมากจนเกินเหตุ ไม่ยอมให้เล่นกับเด็กคนอื่นๆ เพราะกลัวว่าจะถูกแกล้ง ถูกรักแก ไม่ยอมให้ลูกพลาดสายตาไปเลย เพราะเกรงว่าจะถูกอันตรายต่างๆ หากดูเผินๆ ก็จะรู้สึกว่าพฤติกรรมเช่นนี้เป็นสิ่งที่ดีแต่ตามความเป็นจริงนั้นแม่ประเภทนี้จะทำให้ลูกขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความรับผิดชอบ เข้าสังคมไม่เป็นและมีข้อบกพร่องอื่นอีกหลายประการ
          ประการที่สี่ได้แก่   การยกอัตตา (Egocentricism) เป็นวิธีการที่แสดงให้ตนเป็นจุดเด่นเป็นที่สนใจของผู้อื่นมากขึ้น การยกอัตตาอาจทำได้หลายอย่าง เช่น การโอ้อวด ส่งเสียงดังถามปัญหาวุ่นวายไม่เข้าเรื่อง อวดรู้ อวดฉลาด เด็กบางคนเอาเด่นในทางที่ผิดๆ ไม่เข้าเรื่อง เช่น แกล้งเพื่อ หรือก่อความวุ่นวายในรูปแบบต่างๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจ การยกอัตตาเป็นธรรมดาวิสัยของมนุษย์เพราะทุกคนอยากเด่น อยากดัง อยากให้ผู้อื่นสนใจและเอาใจใส่ตนด้วยกันทั้งนั้น บางคนแสดงออกอย่างมากถึงกับตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ของตนให้วิจิตรพิสดารเหนือผู้อื่นเพียงเพื่อให้คนอื่นสนใจตน
          ประการที่ห้าได้แก่ การปฏิเสธ (Negativism) เป็นวิธีการเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นอีกแบบหนึ่ง โดยใช้การปฏิเสธเป็นเครื่องมือ ผู้ที่แสดงอาการปฏิเสธเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นมีความคิดว่าการทำตามอย่างคนส่วนใหญ่ย่อมไม่เป็นจุดเด่นเพราะมีพฤติกรรมเหมือนๆ ผู้อื่น ดังนั้นจึงต้องแสดงพฤติกรรมที่ตรงกันข้ามเพื่อให้เด่นและเป็นที่สนใจของคนทั่วไป เด็กบางคนจะไม่ยอมทำตามความคิดเห็นของหมู่คณะ หลีกเลี่ยงระเบียบบังคับของโรงเรียน ครู และผู้ปกครอง อาจจะช่วยลดอาการปฏิเสธของเด็กลงได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้
1.      หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งกับเด็ก
2.      ยินยอมให้เด็กได้ทำสิ่งต่างๆ ตามความพอใจของเขาบ้าง
3.      ใช้สิ่งชวนใจช่วยให้เด็กคล้อยตามคำแนะนำของผู้ใหญ่
4.      หลีกเลี่ยงการแสดงอาการปฏิเสธให้เด็กเห็น
ประการที่หกได้แก่ การถอยหนี (Withdrawal) เป็นการหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้เกิด
ความคับข้องใจ ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เช่น ฝันกลางวัน (daydreaming) ง่วงเหงาหาวนอน การเลี่ยงไปหางานทำ การดื่มสุราหรือใช้ยาระงับประสาท เป็นต้น
            การฝันกลางวัน (daydreaming) เป็นการสร้างจินตนาการเกี่ยวกับตนเองขึ้นเพื่อลดความคับข้องใจหรือความกระวนกระวายใจ เพื่อให้พ้นจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความไม่พอใจไปเสีย เช่น เด็กที่เรียนอ่อน สถานการณ์ในชั้นเรียนทำให้เกิดความคับข้องใจหรือไม่พอใจ อาจจะวาดภาพว่าต่อไปข้างหน้าตนจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง เป็นผู้ที่มีฐานะมั่งคั่ง เป็นต้น ในบางครั้งเมื่อเกิดความคับข้องใจขึ้น คนเราอาจจะรู้สึกง่วงเหงาหาวนอนขึ้นได้ เช่น นักเรียนที่เบื่อวิชาเรียนอาจจะนั่งหลับในชั้น คนบางคนอาจหลีกเลี่ยงความวุ่นวายต่างๆ ที่กำลังเผชิญอยู่โดยการหางานอื่นมาทำเพื่อให้ลืม ไปพักผ่อนหย่อนใจ ดื่มสุราหรือใช้ยาระงับประสาท การปรับตนโดยการถอยหนีไม่ช่วยแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด ปัญหาหรือความวุ่นวายใจเหล่านั้นยังไม่ได้รับการแก้ไข และจะยังคงอยู่ให้เกิดความคับข้องใจหรือวุ่นวายใจต่อไปอีก ดังนั้นจึงควรหาทางแก้ปัญหาเสียโดยเร็วจะดีกว่าการถอยหนีไปเสียจากเหตุการณ์นั้นๆ
          ประการที่เจ็ดได้แก่ การถอยหนี (Regression) เป็นการแสดงกริยาแบบเด็กๆ หรือแสดงพฤติกรรมอ่อนกว่าวัยเพื่อให้สามารถสนองความต้องการได้ หรือเพื่อเรียกร้องความสนใจเอาใจใส่จากผู้อื่น การถดถอยในเด็กเล็กๆจะเห็นได้ชัดเจน เช่น เด็กบางคนกำลังหัดเดินเมื่อเกิดความคับข้องใจขึ้นก็จะถดถอยไปสู่ระยะที่ยังเดินไม่ได้ เด็กบางคนกำลังหัดพูดก็หยุดพูด เป็นต้น ผู้ใหญ่บางคนเมื่อไม่ได้สิ่งต่างๆ ตามความปรารถนาก็อาจจะร้องไห้เสียงดังๆ ส่งเสียงร้องกรีดกราด แลบลิ้นปลิ้นตาหลอก ทำเสียงล้อเลียนผู้ที่ตนไม่พอใจ อาการเหล่านี้เป็นลักษณะของการถดถอยที่เราพบเห็นอยู่บ่อยๆ การถดถอยอีกลักษณะหนึ่งได้แก่ การฝังจิตใจอยู่กับเหตุการณ์ในอดีต บุคคลที่เคยมีความรุ่งเรืองมาก่อนมักจะใช้วิธีนี้เป็นเครื่องปลอบใจให้เผชิญกับความเป็นจริงในปัจจุบัน  การนึกย้อนไปถึงเหตุการณ์หรือความสำเร็จในอดีต เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เกิดความภูมิใจ เกิดความมานะพยายามมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การฝังใจอยู่กับอดีตมากเกินไปก็อาจเกิดผลเสียขึ้นได้ เพราะบางคนอาจระลึกถึงแต่ความสำเร็จในอดีตจนไม่สนใจที่จะหาทางก้าวต่อไปอีกเลยก็ได้
 
 
 
 
 
 
 
 
กลวิธานในการป้องกันตัว (Defense Mechanism) ตอนที่ 3
 
โดย ผศ.สุภวรรณ พันธุ์จันทร์
....................................................................
 
                การหนีไปสู่อาการเจ็บป่วย (Escape through Physical Ailments) เป็นการหนี
สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความคับข้องใจโดยการเจ็บป่วยโดยไม่มีสาเหตุ เมื่อความเดือดร้อนวุ่นวายใจเหล่านี้หมดไป อาการเจ็บป่วยก็จะหายไปด้วย ครูมักจะพบอยู่เสมอว่าในวันสอบจะมีเด็กบางคนที่เกิดปวดหัว ปวดท้อง เป็นหวัด เป็นต้น แต่เมื่อพ้นวันสอบไปแล้วอาการเหล่านี้ก็จะหายไป ครูควรเอาใจใส่นักเรียนที่เจ็บป่วยให้มาก เพราะอาการเหล่านั้นอาจจะเนื่องมาจากความคับแค้นวุ่นวายทางอารมณ์ก็ได้ หากครูลงโทษหรือเพิ่มงานให้อีก ก็อาจจะเป็นการเพิ่มความเครียดทางอารมณ์ให้มากยิ่งขึ้น
            การทำดีชดเชยความผิด (Expiation or Atonement) เป็นวิธีการที่ใช้ลดความรู้สึกผิดลงไปบ้าง เพื่อให้จิตใจสบายขึ้น เช่น ผู้ใหญ่บางคนกลับบ้านดึกซื้อขนมมาให้เป็นต้น วิธีการปรับตนโดยการทำดีชดเชยความผิดนี้จะช่วยลดความคับข้องใจลงไปได้
 
พฤติกรรมต่อต้านสามารถพิจารณาจากพฤติกรรมตอบสนองได้ 3 ลักษณะดังนี้
                1. การยอมจำนน (Submit) เป็นการยอมแพ้ต่ออุปสรรค ยอมรับว่าไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จตามความต้องการได้ จึงพยายามปรับตัวซึ่งจะทำโดยการลดจุดมุ่งหมายลงมาเปลี่ยนความต้องการหรือเก็บกดความต้องการ การแสดงปฏิกิริยาตอบสนองในลักษณะนี้ไม่ทำให้ความต้องการเดิมหมดไป ความต้องการนั้นๆ ยังคงมีอยู่จึงเกิดความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์(Hostile) ต่อสิ่งที่ทำให้คนคับข้องใจ
            2. การเอาชนะ (Overcome) เป็นการพยายามต่อสู้เพื่อเอาชนะควมคับข้องใจให้ได้โดยไม่มีความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ที่เกิดขึ้น
            3. การหลีกเลี่ยง (Avoid) เป็นการหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความคับข้องใจเมื่อเกิดความผิดหวัง แก้ปัญหาไม่ได้ การใช้วิธีการต่างๆ ที่กล่าวมาไม่ว่าจะเป็นเล็กน้อยหรือ
รุนแรงก็ตามขึ้นอยู่กับอุปสรรคหรือความคับข้องใจนั้นรุนแรงระดับใด หากความคับข้องใจมีมาก วิธีการปรับตนก็รุนแรงขึ้น คนที่มีความคับข้องใจมากๆ จนกลายเป็นโรคจิตโรคประสาทก็จะปรับตนด้วยวิธีการรุนแรงและผิดปกติมากขึ้น วิธีการปรับตนของคนไข้โรคจิตโรคประสาทก็เช่นเดียวกับวิธีการปรับตนของคนปกตินั่นเอง เพียงแต่มีความรุนแรงกว่าและยาวนานกว่าเท่านั้น เป็นต้นว่า เมื่อเกิดความคับข้องใจขึ้น คนธรรมดาอาจจะมีอาการเจ็บป่วยแล้วก็หายไป แต่คนไข้โรคจิตโรคประสาทจะเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีอำนาจ เป็นผู้วิเศษนึกเห็นตนเองเป็นผู้มีอำนาจราชศักดิ์อยู่ตลอดเวลา อาการของโรคจิตโรคประสาทมักจะไม่ปรากฏในหมู่นักเรียน นักศึกษา หรือแม้กระทั่งคนทำงาน แต่หากครูบังเอิญพบเห็นเด็กที่มีความผิดปกติดังกล่าวก็ควรรีบปรึกษาแพทย์และผู้ปกครอง เพื่อช่วยกันแก้ไขเสียแต่แรกๆ ครูควรระลึกอยู่เสมอว่าคนไข้โรคจิตโรคประสาทนั้น แต่เดิมก็คือคนธรรมดานั่นเอง ดังนั้นท่านผู้ฟังรายการ ท่านที่มีเด็กในปกครองท่านควรเอาใจใส่ ให้ความสนใจในความผิดปกติของเด็กเสียตั้งแต่ต้น เพื่อหาทางช่วยเหลือไม่ให้อาการผิดปกติรุนแรงขึ้นจนถึงขึ้นร้ายแรงต่อร่างกายตนเองและผู้อื่นได้
 
 
 
 
  
 การปกครองโดยใช้หลักการ Good   Governance
การปกครองดีประชาชนสุขภาพกายดีสุขภาพจิตดี
 
โดยผศ.สุภวรรณ พันธุ์จันทร์
..........................................................................................................................................
 
 
                คำว่า Good   Governance เป็นแนวคิดที่ธนาคารโลก ( World Bank ) นำมาใช้กำหนดนโยบายการให้เงินกู้กับประเทศในซีกโลกภาคใต้ตั้งแต่ตอนต้นทศวรรษที่ 90 เป็นต้นมา ในสังคมไทยเริ่มจากกระแสการปฎิรูปทางการเมืองของสังคมไทยและจุดประกายแนวคิดในช่วงพฤษภาทมิฬ คือในช่วง ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมาคำว่าธรรมรัฐ หรือ Good Governance ก็เริ่มคุ้นหูคนไทย และในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ประเทศไทยต้องกู้เงินสถาบันการเงินภายนอกประเทศ ได้แก่โครงการกองทุนนี้ทำให้ประเทศไทยต้องกำหนดให้มี Good   Governance 
            ความหมายของคำว่า Good   Governance ได้มีผู้รู้ทางรัฐศาสตร์ นักการศึกษาและธนาคารโลกให้ความหมายพอสรุปได้ดังนี้
            ธรรมรัฐ หมายถึง การใช้อำนาจทางการเมือง เพื่อจัดการงานของบ้านเมือง ด้วยการให้บริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพมีระบบยุติธรรมและกระบวนการทางกฏหมายที่เป็นอิสระ เพื่อให้การดำเนินการต่างๆเป็นไปตามสัญญามีฝ่ายบริหารที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีระบบราชการที่เคารพในสิทธิของผู้คนพลเมือง มีฝ่ายนิติบัญญัติที่รับผิดชอบและมีสื่อมวลชนที่เป็นเสรี
            ธรรมรัฐ หมายถึง การมุ่งความสนใจไปที่องค์ประกอบที่ทำให้เกิดการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้แน่ใจว่านโยบายที่กำหนดไว้ได้ผล ซึ่งก็หมายถึงมีบรรทัดฐานเพื่อให้มีความแน่ใจว่า รัฐบาลสามารถสร้างผลงานตามที่สัญญาไว้กับประชาชนได้
            ธรรมรัฐ หมายถึง การบริหารและการปกครองทั้งภาคราชการและภาคเอกชนทั้งที่เป็นหน่วยงานธรรมดา หรือนิติบุคคล มีระบบการบริหารงานที่ดี มีประสิทธิภาพ
            จากความหมายของธรรมรัฐดังกล่าวข้างต้น ในที่นี้จะสรุปคำว่า ธรรมรัฐ หมายถึง ระบบการบริหารและระบบการปกครองที่ดี มีหลักการในการดำเนินการบริหารและปกครอง และกระบวนการทางกฎหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบการตรวจสอบการทำงานโดยตัวระบบราชการเองและระบบเอกชน ผู้ปกครองบ้านเมืองมีจุดมุ่งหมายในการบริหารงานโดยมุ่งที่พลเมืองได้รับประโยชน์สูงสุด ให้บริการระบบสาธารณะอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
            องค์ประกอบของธรรมรัฐ หรือ Good   Governance ต้องประกอบด้วย
1.      การทำงานอย่างมีหลักการ รับผิดชอบแดละถูกต้อง (Accountability)
2.      การมีส่วนร่วม ของประชาชน ( Public Participation )
3.      ความคาดหวัง หรือ ความสามารถในการคาดการณ์ (Predictability )
4.      ความโปร่งใส หรือ เปิดเผย ( Transparency )
5.      ถูกต้องตามกฎหมาย หรือหลักนิติธรรม ( Rule of Law )
สำหรับองค์ประกอบของ Good Governance ทั้ง 5 ข้อ จะขออธิบายโดยละเอียดดังนี้ คือ
1.      การทำงานอย่างมีหลักการ รับผิดชอบและถูกต้อง (Accountability)  หมายถึง
การกระทำใดๆ ต้องสามารถอธิบายได้ด้วยหลักของเหตุผล ความถูกต้อง ทำอย่างมีหลักการ ฉะนั้นในการกระทำใดๆต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องและรับผิดชอบต่อการตัดสินใจใดๆในเรื่องงานได้ และพร้อมจะอธิบายได้ว่ามีปัจจัยใดที่นำไปสู่การตัดสินใจในเรื่องนั้นๆ
             2.    การมีส่วนร่วม ของประชาชน ( Public Participation ) เป็นเรื่องของการเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องใดๆที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการปกครอง เพื่อที่จะเข้าใจในเรื่องนั้นๆ หรือการเข้าไปรู้เห็นในกิจกรรม หรือกระบวนการต่างๆในการรับรู้ ในการตัดสินใจในการควบคุม ในการดูแลและรวมไปถึงการตรวจสิบเพื่อให้เกิดความซื่อสัตย์สุจริต และกิจกรรมนั้นๆเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนโดยส่วนรวม การมีส่วนร่วมของประชาชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 327 (7) ได้กำหนดไว้ชัดเจน ประชาชนทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครองเพราะถึอเป็นหัวใจสำคัญ เรียกว่าเป็นรากฐานของการปกครองแนวธรรมรัฐ
            3.   ความคาดหวัง หรือ ความสามารถในการคาดการณ์ (Predictability ) เป็นความสามารถที่จะคาดการณ์ พยากรณ์ได้ล่วงหน้าว่าอะไรจะเกิดขึ้น พยากรณ์ความเปลี่ยนแปลงแนวทางในการพัฒนาอะไรจะเกิดขึ้น ความก้าวหน้าของรัฐในอีก 10 ปี ข้างหน้า หรือทำนายระบบเศรษฐกิจ เพื่อทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ ในหลายๆเรื่องว่าสิ่งที่กำลังดำเนินการประโยชน์สูงสุดอยู่ที่ใคร ตัวประชาชน หรือคนกลุ่มน้อยในสังคม ทำอย่างไรก็ได้ที่จะทำให้ประชาชนมั่นใจว่ารัฐจะพาประชาชนไปรอด
            4.   ความโปร่งใส หรือ เปิดเผย ( Transparency ) หมายถึงการกระทำที่เกี่ยวข้องกับส่วนรวม หรือประโยชน์ส่วนรวมต้องสามารถเปิดเผยต่อสาธารณะชนได้ ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ ต้องรู้ทุกขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆของรัฐ โดยรัฐสามารถชี้แจงที่มาที่ไปได้ว่ากำลังทำอะไร ฉะนั้นไม่มีคำว่า ความลับทางราชการ แต่มีคำว่าโปร่งใส และรัฐธรรมนูญ ปี 2540 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ ดังนั้นประชาชนสามารถทราบข้อมูลข่าวสารของทางราชการได้เรียกให้ชัดๆ คือ ประชาชนมีสิทธิในการรับรู้ ( Right to know ) 
           5.   ถูกต้องตามกฎหมาย หรือหลักนิติธรรม (Rule of Law ) เป็นการปกครองโดยกฎหมายหรือทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน การกระทำใดโดยอาศัยกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ สังคมจะอยู่ได้ก็เพราะกฎหมาย เป็นหลักของเหตุผล มีบทบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร
 
                            การปกครองที่ดีต้องทำให้ประชาชนมีสุขภาพกายดีสุขภาพจิตดี มีการพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้ปกครองต้องคำนึงถึงประชาชนให้มากๆ หรือท่านต้องการประชาชนที่ร่างกายแข็งแรงแต่สุขภาพจิตเสื่อมโทรม ถ้าเป็นเช่นนี้เราก็จะพบปัญหาต่างๆ ตามมามากมายที่ทำให้สังคมวุ่นวายทุกรูปแบบ  
                พัฒนาประเทศที่ดีต้องใช้รูปการปกครองที่ดี เหมาะสมกันวัฒนธรรมของคนในประเทศนั้นๆ แนวทางหนึ่งในการพัฒนาประเทศคือต้องเน้นที่การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณภาพที่ว่า  คือคุณภาพของคนทางด้านกายและคุณภาพจิต มีการพัฒนาและส่งเสริมไปด้วยกัน ถ้าคนในชาติดี อยู่ในสังคมธรรม(ทุกหลักธรรมคำสอน) มีการพัฒนาที่สมดุล ยึดหลักสายกลางในการดำรงชีวิต ไม่สุดโต่งเกิน เชื่อว่าเมื่อคนไทยทุกคนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีทุกคนจะเป็นคนดี อยู่ในสังคมดี ชาติไทยต้องดีแน่ ไม่วุ่นๆ เพราะคนสุขภาพจิตไม่ดีป่วนเมืองอยู่ทุกวันนี้
 
                        
 
 
การปรับตัวภายหลังการสูญเสีย
 
ผศ.สุภวรรณ พันธุ์จันทร์
....................................................................................
 
            คนเราทุกคนใช่ว่าจะสมหวังกันทุกเรื่อง   แม้ว่าวันนี้จะมีความสุขที่เกิดขึ้นใช่ว่าจะยั่งยืน ไม่มีอะไรที่แน่นอนหรอก เหมือนคำกล่าวที่เราท่านมักได้ยินกันจนคุ้นหูว่า สรรพสิ่งในโลกล้วนอนิจจัง   ดังนั้นทั้งเราและท่านทั้งหลายต้องอยู่อย่างไม่ประมาท จะทำสิ่งใด จะต้องคิดหลาย ๆ อย่าง คิดมาก ๆ หาทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเราและครอบครัว หรือคนใกล้ชิดเรา ต้องรู้จักเตรียมตัวเตรียมใจและเตรียมการณ์ล่วงหน้า คิดเผื่อ ๆ ไว้บ้าง ทั้งนี้เพื่อให้ตัวเราสามารถจัดการกับชีวิต ในช่วงที่ต้องสูญเสียได้เป็นต้นว่า เสียคนที่เรารัก อาจเป็นคุณพ่อ หรือคุณแม่ อาจเป็นสามีหรือภรรยาหรือแม้แต่ลูก ๆ หรือสมาชิกในครอบครัว เราแต่ละคนไม่อาจเดาได้ว่าเมื่อไรจะเป็นใครหรือแม้ตัวเราเอง แน่นอนไม่มีเหตุการณ์ใดมาบอกเราได้ว่าพรุ่งนี้อะไรจะเกิดขึ้น แม้หนึ่งนาทีข้างหน้าเรายังมองไม่เห็น ดังนั้นการอยู่อย่างไม่ประมาทน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดในการดำรงชีวิต และเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เราต้องเรียนรู้ที่จะต้องปรับตัวปรับใจในสถานการณ์นั้น ๆ ให้ได้ ไม่ฟูมฟาย ไม่เอาแต่ร้องไห้ ไม่คร่ำครวญกับความเสียใจ หรือการสูญเสียแบบ กะทันหัน เราทุกคนเมื่อทราบของเรื่องการสูญเสียเป็นจะต้องดำเนินต่อไปให้ได้ถึงตอนนี้คงต้องสร้างพลังและศักยภาพภายในจากตัวเองให้มากขึ้น ต้องเข้มแข็ง ต้องอดทน อดกลั้น คิดว่าจะแก้ไขสถานการณ์อย่างไร ในช่วงชีวิตที่ผ่านมา ถ้าท่านเกิดมาเป็นนักสู้มาโดยตลอด พอถึงสถานการณ์คับขันท่านก็จะเป็นผู้หนึ่งที่สามารถจัดการกับชีวิตในช่วงนี้ได้ไม่ยากนัก แต่ถ้าท่านเล่นบทบาทผู้หญิงอ่อนแอ ผู้ชายอ่อนต่อโลกท่านคงต้องฝืนลุกขึ้นมาดำรงชีวิต เป็นช่วงที่ต้องดำเนินไปอย่างยากลำบาก แต่มนุษย์ทุกคนมีสัญชาตญาณของการดำรงชีวิต เรียกว่าเข้าตาจนจริง ๆ ทุกคนก็สามารถดำรงชีวิตได้ แต่ถ้ามันยุ่งยากมากจนไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไรดีลองฟังแนวปฏิบัติต่อไปนี้อาจเป็นแนวทางหนึ่งที่พอช่วยท่านได้
            ข้อหนึ่ง ท่านต้องยอมรับความจริงในการมีชีวิตของเราทุกคน ยอมรับธรรมชาติของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามว่า การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และการดับไป เป็นเรื่องธรรมดา การดับไป การจากไป จากอายุไข จากโรคภัยไข้เจ็บ หรือแม้จากอุบัติเหตุ หรือด้วยเหตุอื่น ๆ นั้นคือการจากไป อย่างไม่มีวันกลับ ท่านต้องยอมรับความจริงว่าเราทุกคนต้องตาย ช้าหรือเร็ว จะด้วยเหตุใด ๆ เขาคือคนที่เรารักได้จากไปแล้ว แต่ตัวเรายังอยู่ หน้าที่และความรับผิดชอบต่อสมาชิกคนอื่นๆ ยังมีอยู่ ยังมีคนที่เราต้องดูแล และมีชีวิตอยู่เพื่อเขา
            ข้อสอง ตัวท่านต้องพยายามปรับตัวปรับใจเพื่อจะให้ผ่านช่วงวิกฤตของชีวิตให้ได้ แม้ว่าเราจะรู้สึกว่าการสูญเสียครั้งนี้ดูเหมือนว่าชีวิตเราหายไปครึ่งหนึ่ง ความรัก ความผูกพัน ความห่วงหา ความอาลัยเป็นความรู้สึกที่เราไม่อาจสรรหาคำใด ๆ ในโลกมาแทนความรู้สึกที่เรารู้สึกอยู่ขณะนี้ เราก็ต้องลึกขึ้นยืน สร้างพลังจิตพลังใจให้เข้มแข็ง แล้วบอกตนเองว่า เพื่อคนที่เรารัก เราจะทำดีแม้ว่าคนที่เรารักจะจากไป ถึงแม้ว่าเขาจะไม่อยู่ เขาจะเห็นหรือไม่เห็น เราจะทำดีตามที่เขาเคยสั่งสอนเรา เราจะทำดีทั้ง ๆ ที่เขาไม่มีโอกาสเห็นในสิ่งที่เราทำก็ตาม ท่านเชื่อมั๊ยหลายคนประสบความสำเร็จมามากแล้ว
            ข้อสาม   ท่านต้องไม่ปล่อยให้ความซึมเศร้าทำร้ายตัวท่าน อย่าให้มันเกาะกินใจเรานานเกินกว่าความเสียใจปกติ ความรัก ความอาลัย ความห่วงหาต้องมีวันสิ้นสุดเหลือแต่ความระลึกนึกถึงผู้ที่จากไปตลอดไป ท่านอาจจัดสิ่งแวดล้อมเดิม ๆ ที่ทำให้เรานึกเสมอว่าเขาผู้จากไปยังอยู่ใกล้ ๆตัวท่าน คอยดูแล คอยเป็นกำลังใจ หรือบางท่านยิ่งเห็นภาพเก่า ๆ เก้าอี้ตัวเดิมแล้วไม่สามารถดำรงชีวิตในปัจจุบันได้ในกรณีนี้การจัดสิ่งแวดล้อมใหม่น่าจะดีกว่า มองเห็นภาพเก่า ๆ ท่านนั้นแหละที่รู้ว่าตัวท่านต้องการอะไร
            ข้อสี่ ท่านต้องสร้างความเชื่อมั่นในตนเองว่าสามารถนำชีวิตตนเองได้ แม้ว่ามันจะยากสักเพียงใด ท่านก็ต้องพยายาม เพราะการนำตนเองได้เป็นการทำเพื่อตัวท่านเองและยังเป็นแบบฉบับของคนสู้ชีวิตให้กับคนในครอบครัวท่าน
            ข้อห้า การควบคุมอารมณ์ให้เข้มแข็ง มีการแสดงออกที่สมกับบทบาทในปัจจุบัน ไม่เก็บกดจนเกินไป และไม่ทุกข์จนหาทางออกของชีวิตไม่ได้ ในข้อนี้ถ้ามันรู้สึกแย่มากท่านอาจหาเพื่อนสักคน เรื่องที่ไม่เคยเล่าให้ใครฟังอาจลองไว้ใจใครสักคนหาเพื่อนที่เขาฟังเราระบายความทุกข์ออกมา ความทุกข์ที่ถูกระบายอาจทำให้เราบรรเทาได้
            ข้อหก การรู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่าให้ว่าง ๆ อาจหางานอดิเรกทำ เล่นกีฬา ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ สะสมรูปภาพ แสตมป์ อะไรก็ได้ที่ท่านชอบทำงานอดิเรก จะช่วยให้ท่านบรรเทาความทุกข์ได้บ้าง
            ข้อเจ็ด การรู้จักเข้าไปมีส่วนร่วมในงานสังคมต่าง ๆ   อาจทำให้เราหายเหงาคลายความเศร้า อย่าอยู่คนเดียว การอยู่คนเดียว จะทำให้เราคิดฟุ้งซ่าน งานในสังคมมีอะไรเราก็เข้าไปช่วย การได้พูดคุยกับคนอื่นทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์บางทีความทุกข์ที่เกิดกับเราอาจจะน้อยกว่าคนอื่นที่เขาทุกข์มากกว่าเราก็ได้
            ข้อแปด การใช้หลักศาสนามาช่วยก็เป็นแนวคิดหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้น เราอาจเชื่อว่า ผู้ที่จากไปเป็นคนพ้นทุกข์ ไปสู่สัมปรายภพที่ดีที่งาม หรือ การไปรวมอยู่กับพระเจ้า   ไปรวมอยู่กับธรรมชาติ ทุกศาสนาก็มีแนวคิดแนวปฏิบัติที่ทำให้เราสามารถปรับตัวได้ดีภายหลังการสูญเสียโดยทั้งสิ้น ดังนั้นการใช้หลักศาสนาตามที่เรายึดก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ใช้ได้ 
            ข้อเก้า กำหนดแผนชีวิตที่จะต้องดำเนินต่อไป ตั้งแต่เรื่องเงิน งาน การดำเนินชีวิตและการอยู่โดยปราศจากคนที่เรารัก เราจะดำเนินชีวิตอย่างไรให้คนอยู่ข้างตัวมีกำลังใจและเราก็มีศักยภาพที่จะยืนและก้าวไปด้วยตัวของเราเอง
            เป็นอย่างไรบ้างสำหรับเก้าข้อในการดำรงชีวิตอยู่ หรือการปรับตัวภายหลังการสูญเสีย ไม่มีใครไม่ที่จะพบเหตุการณ์วิกฤตในชีวิต เราทุกคนต้องพบด้วยกันทั้งนั้น   ดังนั้นการดำรงชีวิตอยู่ ของเราทุกคนจงอยู่อย่างไม่ประมาท อยู่อย่างมีสติ ระลึกได้ว่า ขณะนี้เรากำลังทำอะไร มีหน้าที่อย่างไร และทำช่วงชีวิตตรงนั้นให้มีคุณค่าที่สุด ให้ดีที่สุด แม้ว่าสิ่งใด ๆ จะเกิดขึ้น เราก็ทำดีที่สุดแล้วกับคนที่จากไป และเมื่อเขาจากไปอย่างไม่มีวันกลับ เราจะไม่เสียใจอะไรมากเพราะช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันเราให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่กันและกันแล้ว
 
 
 
 
 
 
 
 
 ารพัฒนาบุคลิกภาพ
โดย ผศ.สุภวรรณ พันธุ์จันทร์
..........................................................................
 
                บุคลิกภาพเป็นคำไทยที่มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Personality มีรากฐานมาจากภาษากรีกว่า Persona ซึ่งมีความหมายว่า Mark ที่แปลว่า “หน้ากาก” ที่ใช้ใส่สวมหน้าเวลาออกโรงแสดงละคร แต่เดิมคนไทยนิยมใช้คำว่า “บุคลิกลักษณะ” หรือเรียกสั้นๆ ว่า บุคลิก ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติศัพย์คำว่า บุคลิกภาพ หมายถึง “สภาพนิสัยจำเพาะของคน” นักจิตวิทยาชื่อ เบอร์นาร์ด (Bernard) ให้ความหมายคำว่า บุคลิกภาพ คือ ผลรวมทั้งหมดของท่าทางรูปร่างลักษณะทางกาย พฤติกรรมที่แสดงออก แนวโน้มการกระทำขอบเขตความสามารถทั้งที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในและที่แสดงออกมาให้เห็น
            บุคลิกภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้คนบรรลุความสำเร็จในอาชีพการงาน ชีวิตครอบครัว ความเจริญก้าวหน้าของคนอยู่ที่การแต่งปรุงบุคลิกภาพให้เข้ากับสถานการณ์    บุคลิกภาพของคนย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามความผันแปรของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัย ตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้น การพัฒนาบุคลิกภาพจึงควรเริ่มตั้งแต่เยาว์วัย ผู้เกี่ยวข้องคือ บิดา มารดา ครู อาจารย์ ญาติพี่น้อง ควรได้ตระหนักและหาแนวทางแก้ไข หาวิธีการในการพัฒนาบุคลิกภาพของลูกหลานตลอดทั้งตัวเองให้เปนผู้มีบุคลิกภาพอันงดงาม เป็นบุคคลที่มีคุณภาพต่อโลกต่อสังคม
การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักการแบ่งเป็น 4 ประการ ดังนี้
1.      การพัฒนาบุคลิกภาพทางกาย
2.      การพัฒนาบุคลิกภาพทางสมองหรือสติปัญญา
3.      การพัฒนาบุคลิกภาพทางสังคม
4.      การพัฒนาบุคลิกภาพทางอารมณ์
 
1.      การพัฒนาบุคลิกภาพทางกาย 
เริ่มตั้งแต่ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา จะต้องได้รับการดูแลระวังรักษาทั้งภายนอก คือ 
สุขภาพของผู้เป็นแม่ ทั้งร่างกายและจิตใจ ตลอดจนภายในครรภ์ตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์จนคลอดออกมาเป็นเด็กทุกระยะ แม่ควรได้ให้ความสำคัญต่อตนเองและลูกน้อย ควรรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่ควรให้มีเรื่องอะไรมากระทบกระเทือนจิตใจ สำรวจความเปลี่ยนแปลงของตนเอง ถ้ามีความผิดปกติอะไรต้องปรึกษาแพทย์และหาทางแก้ไข
2.      การพัฒนาบุคลิกภาพทางสมองหรือสติปัญญา
เชาว์ปัญญาเป็นเรื่องของพันธุกรรม ยีนที่ได้รับถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษและเป็นตัวกำหนดขีดความสามารถของสมอง คนเราจะโง่หรือฉลาด มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด หรือเชื่องช้า เซื่องซึม เป็นเพราะสมองสั่งการทั้งสิ้น การพัฒนาบุคลิกภาพทางสมองหรือสติปัญญาไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ สามารถพัฒนาได้หลายวิธี เช่น การใช้เกม การทดสอบ จัดสิ่งแวดล้อมสร้างบรรยากาศให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
3.      การพัฒนาบุคลิกภาพทางสังคม
มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมหรือสัตว์เมืองมีความต้องการที่อยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นพวก 
สังคมเริ่มแรกของชีวิตคือ ครอบครัว ซึ่งประกอบด้วย  พ่อ แม่ ลูก ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง ต่อมาก็เป็นสังคมภายนอก ซึ่งจะต้องมีการปฏิสัมพันธ์กัน มนุษย์ทุกคนโดยปกติจะต้องพึ่งพาอาศัยเกี่ยวข้องพบปะกันเป็นธรรมดาของชีวิต การพัฒนาทางสังคมก็คือ การปรับตัวของคนแต่ละวัย ตั้งแต่เด็กจนย่างเข้าสู่วัยรุ่น และเป็นผู้ใหญ่จะต้องเรียนรู้ ศึกษา หาประสบการณ์ต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา ผู้เป็นพ่อ แม่ ผู้ปกครองควรได้ให้โอกาสแก่เด็กในการเรียนรู้และสอนให้รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมทั้งดีและไม่ดี ตามความเหมาะ สมควรให้เด็กได้สัมผัสกับความเป็นจริง สถานการณ์จำลองบ้าง เพื่อจะได้มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหา
4.      การพัฒนาบุคลิกภาพทางอารมณ์
อารมณ์เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก การพัฒนาบุคลิกภาพทางอารมณ์เป็นเรื่องที่สืบ
เนื่องกันมาแต่เริ่มแรก คือ เริ่มตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ แม่ต้องมีสุขภาพจิตและอารมณ์ดี อารมณ์ของคนจะพัฒนาได้ดีหรือไม่อยู่ที่ความต้องการต่างๆ ของคนคนนั้นได้รับการตอบสนองในทางที่ถูกที่ควร อารมณ์ก็จะพัฒนาไปได้ด้วยดี ความต้องการทางอารมณ์เป็นไปในทางช่วยให้ผ่อนคลายความตึงเครียดและให้ความบันเทิงแก่ชีวิต การพัฒนาทางอารมณ์มีระยะสำคัญ 3 ระยะ คือ วัยทารก วัยเด็ก และวัยรุ่น  การพัฒนาอารมณ์ของวัยรุ่นถือเป็นวัยที่มีความสำคัญมาก จะมีการเปลี่ยนแปลงมากและรวดเร็วจนแทบไม่ทัน มีอารมณ์รัก กลัว โกรธ รุนแรง ยุ่งเหยิง และละเอียดอ่อนมาก มีความต้องการทางเพศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย พ่อแม่ควรให้ความรักความอบอุ่นเห็นใจ ทำตัวให้ใกล้ชิดกับลูกเป็นตัวอย่างที่ดีของลูก ทำตัวเป็นเพื่อนให้คำแนะนำ แนะแนว และไว้วางใจลูก
            หลักการที่กล่าวมาทั้ง 4 ข้อ เป็นการพัฒนาบุคลิกภาพทางด้านต่างๆที่สำคัญ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ควรได้ศึกษาพิจารณาหาแนวทางวิธีการปรับปรุงแก้ไขและเสริมสร้างบุคลิกภาพที่พึงปรารถนาให้กับเด็กเพื่อจะได้เป็นบุคลากรของประเทศชาติที่มีคุณภาพต่อไป
               
 
 
 
 
 
 
เก็บตกจากวัยงาม 5 นาทีมีสีสัน
โดย ผศ.สุภวรรณ พันธุ์จันทร์
............................................................
 
                หลายท่านที่กำลังฟังรายการราชมงคลเพื่อชุมชนอยู่ขณะนี้ อาจเริ่มสนใจแล้วว่าวันนี้ราชมงคลจะนำเสนอเรื่องอะไร หัวข้อเก็บตกจากวัยงามไม่ผิดแน่ แต่ท่านคงสงสัยว่าเก็บตกเรื่องอะไรและที่ว่าวัยงามคือวัยใด ถ้าท่านสนใจเราจะเฉลยให้ฟังดังนี้ค่ะ
            วัยงามคือช่วงอายุที่พัดผ่านลมร้อน ลมหนาวมาหลายฤดูกาลจากวัยเด็ก เข้าวัยแรกรุ่น วัยหวานแหว เข้าสู่วัยทำงานเพื่อคนอื่น เพื่อคนที่เรารัก เพื่อใครๆ ที่รู้สึกดี และมาถึงวันหนึ่งวันวานก็ผ่านไปเร็วจนบางครั้งแม้ตัวผู้เขียนเองยังอดนึกถึงเมื่อวานนี้ไม่ได้ พอมารู้ตัวอีกที เพื่อนเรา กลุ่มเรา คนใกล้ชิดเรา ก็มีหลายคนที่หายไป จากไป แต่วันนี้ยังมีเราอยู่ แลมีโอกาสได้พูดคุยกับเพื่อนๆ หรือใครๆ หรือบางครั้งอาจเป็นคุณแม่เพื่อน คุณยาย ได้ทั้งประสบการณ์ ได้ทั้งความรู้ต่างๆ นำมาฝากท่านผู้ฟัง วัยคุณแม่ของเพื่อน หรือวัยคุณแม่ของเราล้วนแต่เป็นวัยงามโดยทั้งสิ้น ท่านเหล่านี้เป็นห้องสมุดอันทรงคุณค่า ไม่ต้องกดคีย์บอร์ดเพื่อคลิกหาข้อมูลเหมือนเด็ก ไอที แต่เมื่อใดที่สนใจเรียกถามได้ตลอดเวลา ท่านจะเล่าให้ฟังซ้ำแล้วซ้ำเล่า ฟังหลายครั้งไม่เบื่อเลย เมื่อไม่เบื่อสิ่งที่ได้จึงตรงกับหัวข้อที่ว่า เก็บตกจากวัยงาม มาเล่าสู่กันฟัง ท่านผู้ฟังลองฟังดูว่าเรื่องอะไรบ้างที่เก็บตกมาเล่าให้ท่านฟังวันนี้
            ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณ คุณยายเสมา พุ่มประทีป ที่ได้สละเวลาเล่าเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้ให้ฟัง เรื่องแรกคุณยายบอกว่าในอดีตคุณยายเลี้ยงลูกจำนวนหกคนด้วยอาชีพทำกล้วยแขกขาย อาชีพนี้ทำให้คุณยายส่งลูกๆ เรียนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโททุกคน คุณยายบอกว่าการทอดกล้วยแขกคือ แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว และลืมไม่ได้ต้องใส่แป้งหมี่นิดหน่อยจากนั้นก็ผสมแป้งทั้งสามอย่างเข้าด้วยกัน ใส่น้ำอ้อย ถ้าไม่มีให้ใช้น้ำตาล มะพร้าวขูดที่ไม่คั้นยิ่งดีหรือจะใช้ที่ขูดแล้วจากการเหลือกากเมื่อคั้นน้ำเอาไปทำแกง ที่เหลือกากก็เอามาทำขนมได้อีก การใส่มะพร้าวขูดจะทำให้กล้วยแขกหอม จากนั้นเติมน้ำนิดหน่อย ใส่กลอยที่ทำแห้งแล้วลงไปเคล้ากับแป้ง สิ่งหนึ่งที่ห้ามลืมเด็ดขาดคือ เกลือนิดเดียว ขนมไทยมักจะมีเกลือเป็นตัวช่วย ซึ่งจะทำให้มีรสชาติกลมกล่อม เมื่อส่วนผสมทั้งหมดได้ที่แล้วจึงฝานกล้วยเป็นชิ้นบางๆ นำไปเคล้ากับแป้งแล้วนำลงทอดกับน้ำมันร้อนๆ น้ำมันที่ใช้ทอดต้องใช้น้ำมันบัว ทอดชิมก่อนสัก 2-3 ชิ้น ถ้ารสชาดดีเป็นอันใช้ได้ ถ้ารสชาดยังไม่ถูกใจเราก็เติมเครื่องปรุงตามที่กล่าวข้างต้นตามแต่ชอบ เป็นไงสูตรกล้วยแขกส่งลูกเรียนปริญญาโท เข้าท่านะคะ คุณยายบอกว่าไม่หวงสูตรเอาไปลองทำดู
 
            นั่งพักเย็นๆ สายตามองผ่านเลยไปเห็นมะม่วงกำลังแตกยอดเต็มต้นไปหมด คุณยายกล่าวชักชวนกินข้าวเย็นด้วย วันนี้มีเมนูรสเด็ด ถามท่านว่าอะไร ท่านว่า “หนูเคยกินยำใบมะม่วงมั๊ย” แค่พูดถึงชื่ออาหาร และยิ่งเป็นอาหารประเภทยำๆ หลายท่านคงนึกถึงรสชาดจี๊ดจ๊าดของอาหารรสจัดประเภทนี้ได้ ถ้าสนใจลองติดตามสูตรดู คุณยายเล่าพร้อมสาธิตวิธีการทำ ยำมะม่วง ว่า ก่อนอื่นต้องไปช่วยกันเด็ดใบมะม่วงอ่อนที่ต้น นำไปล้างให้สะอาด แล้วเอามาฉีกเป็นชิ้นๆ และแกะก้านกลางออกจำนวนพอประมาณ ใส่ชามแกงไว้แล้วเอาเข้าตู้เย็น จากนั้นเผาพริกสด หอม กระเทียม พอได้ที่แกะเปลือกทั้งหมดแล้วนำไปโขลก พักไว้ จากนั้นเอาปลาทูนำลงทอดให้เหลือง พอเย็นแกะเอา

Today, there have been 3 visitors (5 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free